ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมาร์กอัป Structured Data ใน Google Search

Google Search ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาในหน้า คุณช่วยให้ Google เข้าใจได้ด้วยการใส่ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของหน้าผ่านการรวม Structured Data ในหน้า Structured Data คือรูปแบบมาตรฐานในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหน้าและจำแนกประเภทเนื้อหาของหน้า เช่น การแจ้งส่วนผสม เวลาและอุณหภูมิที่ใช้ปรุงอาหาร จำนวนแคลอรี ฯลฯ ในหน้าสูตรอาหาร

ทําไมจึงต้องเพิ่ม Structured Data ลงในหน้าเว็บ

การเพิ่ม Structured Data ช่วยให้ระบบแสดงผลการค้นหาที่ดึงดูดใจผู้ใช้ได้มากขึ้น และอาจกระตุ้นให้ผู้ใช้โต้ตอบกับเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดีย ต่อไปนี้เป็นกรณีศึกษาของเว็บไซต์ที่ใช้ Structured Data

  • Rotten Tomatoes ใส่ Structured Data ลงในหน้าเว็บที่ไม่ซ้ำกัน 100,000 หน้า หลังจากนั้นหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วย Structured Data มีอัตราการคลิกผ่านสูงกว่าหน้าที่ไม่มี Structured Data ถึง 25%
  • Food Network แปลงหน้าเว็บ 80% จากทั้งหมดเพื่อใช้ฟีเจอร์การค้นหา และมีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้น 35%
  • Rakuten พบว่าผู้ใช้ใช้เวลาบนหน้าเว็บที่ใช้ Structured Data มากกว่าในหน้าที่ไม่ใช้ Structured Data ถึง 1.5 เท่า และหน้า AMP ที่ใช้ Structured Data มีอัตราการโต้ตอบสูงกว่าหน้า AMP ที่ไม่ใช้ถึง 3.6 เท่า
  • Nestlé พบว่าหน้าเว็บที่แสดงเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียในการค้นหามีอัตราการคลิกผ่านสูงกว่าหน้าที่แสดงเป็นผลการค้นหาที่ไม่เป็นริชมีเดียถึง 82%

Google ใช้ Structured Data ซึ่งพบในเว็บเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาในหน้า อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บและข้อมูลโดยทั่วไปในโลกใบนี้ด้วย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้คน หนังสือ หรือบริษัท ที่รวมอยู่ในมาร์กอัป ตัวอย่างเช่น นี่คือตัวอย่าง Structured Data ของ JSON-LD ที่อาจปรากฏในหน้าสูตรอาหารซึ่งอธิบายเกี่ยวกับชื่อสูตร ผู้เขียนสูตร และรายละเอียดอื่นๆ

<html>
  <head>
    <title>Party Coffee Cake</title>
    <script type="application/ld+json">
    {
      "@context": "https://schema.org/",
      "@type": "Recipe",
      "name": "Party Coffee Cake",
      "author": {
        "@type": "Person",
        "name": "Mary Stone"
      },
      "datePublished": "2018-03-10",
      "description": "This coffee cake is awesome and perfect for parties.",
      "prepTime": "PT20M"
    }
    </script>
  </head>
  <body>
    <h2>Party coffee cake recipe</h2>
    <p>
      <i>by Mary Stone, 2018-03-10</i>
    </p>
    <p>
      This coffee cake is awesome and perfect for parties.
    </p>
    <p>
      Preparation time: 20 minutes
    </p>
  </body>
</html>

นอกจากนี้ Google Search ยังใช้ Structured Data เพื่อเปิดใช้ฟีเจอร์และการเพิ่มประสิทธิภาพพิเศษสำหรับผลการค้นหาอีกด้วย เช่น หน้าสูตรอาหารที่มี Structured Data ที่ถูกต้องจะมีสิทธิ์ปรากฏในผลการค้นหาแบบมีรูปภาพดังที่แสดงด้านล่างนี้

ลักษณะที่ปรากฏในการค้นหา

ผลการค้นหาที่เป็นสื่อสมบูรณ์สำหรับสูตรพายแอปเปิล

Structured Data

<html>
  <head>
    <title>Apple Pie by Grandma</title>
    <script type="application/ld+json">
    {
      "@context": "https://schema.org/",
      "@type": "Recipe",
      "name": "Apple Pie by Grandma",
      "author": "Elaine Smith",
      "image": "https://images.edge-generalmills.com/56459281-6fe6-4d9d-984f-385c9488d824.jpg",
      "description": "A classic apple pie.",
      "aggregateRating": {
        "@type": "AggregateRating",
        "ratingValue": "4.8",
        "reviewCount": "7462",
        "bestRating": "5",
        "worstRating": "1"
      },
      "prepTime": "PT30M",
      "totalTime": "PT1H30M",
      "recipeYield": "8",
      "nutrition": {
        "@type": "NutritionInformation",
        "calories": "512 calories"
      },
      "recipeIngredient": [
        "1 box refrigerated pie crusts, softened as directed on box",
        "6 cups thinly sliced, peeled apples (6 medium)"
      ]
    }
    </script>
  </head>
  <body>
  </body>
</html>

เนื่องจาก Structured Data จะติดป้ายกำกับแต่ละเอลิเมนต์ของสูตรอาหาร ผู้ใช้จึงค้นหาสูตรอาหารตามส่วนผสม จำนวนแคลอรี เวลาที่ใช้ปรุง และอื่นๆ ได้

Structured Data จะเขียนโค้ดโดยใช้มาร์กอัปในหน้าเว็บอยู่ในหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดย Structured Data ในหน้าจะอธิบายเนื้อหาของหน้านั้นๆ อย่าสร้างหน้าว่างเปล่าไว้ใส่ Structured Data โดยเฉพาะ และอย่าเพิ่ม Structured Data เกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้ใช้มองไม่เห็น แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกต้องก็ตาม หากต้องการทราบหลักเกณฑ์ด้านเทคนิคและหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ ให้ดูหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับ Structured Data

การทดสอบผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีประโยชน์ซึ่งมีไว้ตรวจสอบความถูกต้องของ Structured Data และในบางกรณีก็ไว้แสดงตัวอย่างฟีเจอร์ใน Google Search ลองใช้เลย

คําศัพท์และรูปแบบของ Structured Data

เอกสารประกอบนี้จะอธิบายพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็น พร็อพเพอร์ตี้ที่แนะนำ หรือพร็อพเพอร์ตี้ที่ไม่บังคับสำหรับ Structured Data ซึ่งมีความหมายพิเศษต่อ Google Search Structured Data ส่วนใหญ่ของ Search จะใช้คำศัพท์ของ schema.org แต่คุณควรใช้เอกสารประกอบของ Google Search Central เป็นรายการที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับการทำงานของ Google Search ไม่ใช่เอกสารประกอบของ schema.org นอกจากนี้ ยังมีแอตทริบิวต์และออบเจ็กต์เพิ่มเติมใน schema.org ที่ Google Search ไม่ได้บังคับ แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อเครื่องมือค้นหา บริการ เครื่องมือ และแพลตฟอร์มอื่นๆ

อย่าลืมตรวจสอบ Structured Data โดยใช้การทดสอบผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียระหว่างการพัฒนา และรายงานสถานะผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียหลังจากที่ทำให้ใช้งานได้แล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของหน้า ซึ่งอาจมีปัญหาหลังจากที่ทำให้ใช้งานได้แล้วโดยมีสาเหตุจากปัญหาการจัดเทมเพลตหรือการแสดงผล

คุณต้องรวมพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับออบเจ็กต์หนึ่งๆ จึงจะมีสิทธิ์แสดงใน Google Search ที่มีการแสดงที่เพิ่มประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดฟีเจอร์ที่แนะนำในจำนวนมากขึ้นจะทำให้ข้อมูลของคุณมีโอกาสมากขึ้นที่จะปรากฏในผลการค้นหาของ Search ที่มีการแสดงที่เพิ่มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากกว่าก็คือการใส่พร็อพเพอร์ตี้ที่แนะนำในจำนวนไม่มาก แต่ข้อมูลมีความสมบูรณ์และถูกต้อง แทนที่จะพยายามใส่พร็อพเพอร์ตี้ให้ได้เยอะที่สุด แต่ข้อมูลไม่สมบูรณ์ มีรูปแบบที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกต้อง

นอกเหนือจากพร็อพเพอร์ตี้และออบเจ็กต์ที่ระบุอยู่ตรงนี้แล้ว โดยทั่วไป Google ยังใช้ประโยชน์จากพร็อพเพอร์ตี้ sameAs และ Structured Data อื่นๆ ของ schema.org ได้อีกด้วย เอลิเมนต์บางรายการอาจนำไปใช้ในการเปิดใช้ฟีเจอร์ Search ในอนาคตได้หากเราเห็นว่ามีประโยชน์

รูปแบบที่รองรับ

Google Search รองรับ Structured Data ในรูปแบบต่อไปนี้ เว้นแต่ว่าจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โดยทั่วไป เราขอแนะนําให้ใช้รูปแบบที่นําไปใช้และดูแลได้ง่ายที่สุด (ซึ่งก็คือ JSON-LD) ทั้งนี้ทั้ง 3 รูปแบบใช้งานได้ดีสําหรับ Google เท่าๆ กัน ตราบใดที่มาร์กอัปใช้งานได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเอกสารประกอบของฟีเจอร์

รูปแบบ
JSON-LD* (แนะนำ) คำอธิบาย JavaScript ที่ฝังอยู่ในแท็ก <script> ในองค์ประกอบ <head> และ <body> ของหน้า HTML มาร์กอัปนี้ไม่ได้แทรกด้วยข้อความที่ผู้ใช้เห็น ซึ่งทำให้แสดงรายการข้อมูลที่ฝังได้ง่ายขึ้น เช่น Country ของ PostalAddress ของ MusicVenue ของ Event นอกจากนี้ Google ยังอ่านข้อมูล JSON-LD ที่แทรกแบบไดนามิกลงในเนื้อหาของหน้าได้ด้วย เช่น แทรกโดยโค้ด JavaScript หรือวิดเจ็ตที่ฝังในระบบจัดการเนื้อหา
Microdata การกำหนด HTML ของชุมชนแบบเปิดที่ใช้ในการฝัง Structured Data ในเนื้อหา HTML Microdata จะใช้แอตทริบิวต์แท็ก HTML เพื่อกำหนดพร็อพเพอร์ตี้ที่คุณต้องการแสดงเป็น Structured Data เช่นเดียวกับ RDFa โดยปกติจะใช้ในองค์ประกอบ <body> แต่ก็สามารถใช้ในองค์ประกอบ <head> ได้
RDFa ส่วนขยาย HTML5 ที่รองรับข้อมูลที่ลิงก์โดยเริ่มใช้แอตทริบิวต์แท็ก HTML ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้เห็นที่คุณต้องการอธิบายสำหรับเครื่องมือค้นหา RDFa มักจะใช้ทั้งในส่วน <head> และ <body> ของหน้า HTML

หลักเกณฑ์ของ Structured Data

อย่าลืมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของ Structured Data รวมไปถึงหลักเกณฑ์เฉพาะของประเภท Structured Data ของคุณ มิฉะนั้น Structured Data อาจไม่มีสิทธิ์แสดงเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียใน Google Search

เริ่มต้นใช้งาน Structured Data

หากคุณเพิ่งใช้ Structured Data เป็นครั้งแรก โปรดดูคู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน Structured Data ของ schema.org แม้ว่าคู่มือจะมุ่งเน้นที่ Microdata แต่ข้อมูลเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับ JSON-LD และ RDFa ดูคำแนะนำทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีเพิ่ม Structured Data ลงในหน้าเว็บได้ใน Codelab สำหรับ Structured Data

เมื่อคุณมั่นใจเกี่ยวกับพื้นฐานของ Structured Data แล้ว ลองสํารวจรายการฟีเจอร์ของ Structured Data ใน Google Search แล้วเลือกฟีเจอร์ที่จะนํามาใช้งาน แต่ละคู่มือจะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีนำ Structured Data มาใช้งานในลักษณะที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีสิทธิ์ปรากฏเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียใน Google Search

เลือกฟีเจอร์

การวัดผลลัพธ์จากการใช้ Structured Data

คุณอาจต้องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหน้าที่ใช้ Structured Data กับหน้าที่ไม่ใช้ Structured Data เพื่อตัดสินใจว่าการใช้งานจะคุ้มค่าหรือไม่ วิธีที่ดีที่สุดในการดำเนินการดังกล่าวคือเรียกใช้การทดสอบก่อนและหลังกับหน้าเว็บส่วนหนึ่งในเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยุ่งยากเล็กน้อยเนื่องจากการดูหน้าเว็บอาจแตกต่างกันไปสำหรับหน้าเว็บหนึ่งๆ ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน

  1. ใช้หน้าบางหน้าในเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้ Structured Data และมีข้อมูลอยู่ใน Search Console หลายเดือน โปรดเลือกหน้าเว็บที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่วงเวลานั้นๆ ของปีหรือจากการที่เนื้อหาในหน้าต้องแสดงตามเวลาที่กำหนด โดยใช้หน้าเว็บที่จะไม่เปลี่ยนแปลงมาก แต่ยังคงเป็นที่นิยมอ่านบ่อยพอที่จะสร้างข้อมูลที่สื่อความหมายได้
  2. ใส่ข้อมูลที่มีโครงสร้างหรือฟีเจอร์อื่นๆ ลงในหน้า ยืนยันว่ามาร์กอัปถูกต้องและ Google พบ Structured Data นั้นได้โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ในหน้าเว็บ
  3. บันทึกประสิทธิภาพเป็นเวลา 2-3 เดือนในรายงานประสิทธิภาพ แล้วกรองตาม URL เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหน้าเว็บ